11 months ago / Admin

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชี้แจงเปิดซื้อขายหุ้น STARK แม้บริษัทยังไม่ส่งงบการเงิน จนราคาหุ้นร่วง 90% ย้ำเป็นหลักเกณฑ์ที่ผ่านการเปิดรับฟังความคิดเห็นแล้ว และนักลงทุนก็ได้รับข้อมูลอย่างเท่าเทียม เผยอนาคตเตรียมเสนอกฎระเบียบแนวทางแก้ไข พร้อมเรียกร้องทุกองค์กรในตลาดทุนต้องช่วยแก้ปัญหานี้ร่วมกัน

นายแมนพงศ์ เสนาณรงค์ รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ระบุถึงกรณีเปิดการซื้อขายหุ้น STARK ของบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นเวลา 1 เดือน ว่าเกณฑ์การเปิดซื้อขายหุ้นในช่วงที่ยังไม่ส่งงบการเงิน หลังผ่านไป 3 เดือนนั้น มีมาตั้งแต่ปี 62 โดยเคยเปิดรับฟังความคิดเห็นแล้ว ซึ่งนักลงทุนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ลงความเห็นว่าควรจะเปิดโอกาสให้ซื้อขายหลักทรัพย์ก่อนจะปิดไม่ให้ซื้อขายในระยะยาวโดยเกณฑ์พิจารณาดังกล่าวจึงมาจากข้อคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และก็จะทำให้นักลงทุนได้รับข้อมูลเท่าเทียมกัน ซึ่งในกรณีหุ้น STARK บริษัทได้มีการแจ้งข้อมูลนักลงทุนวันที่ 30 พ.ค. 66 และถัดมา 31 พ.ค. บริษัทได้จัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้ จึงถือเป็นการได้ข้อมูลเท่าเทียมกันก่อนเปิดเทรด แม้จะไม่มีงบการเงิน

นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)  ระบุว่า ตลท.ได้ปรึกษาผู้ที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด แต่บริษัทก็ไม่ได้ให้ความมั่นใจว่าจะสามารถเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมได้ก่อนเปิดซื้อขายหุ้นวันที่ 1 มิ.ย. และในวันที่ 16 มิ.ย. จึงทำให้ตลาดหลักทรัพย์ฯต้องดำเนินการเปิดการซื้อขายหุ้นดังกล่าวชั่วคราว ทั้งนี้ภายใน 1 เดือน หากยังไม่ส่งงบการเงินก็จะสั่งหยุดการซื้อขายหุ้นต่อ

ทั้งนี้ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์หุ้น MORE ตลท.ได้มีการตรวจสอบเพื่อปรับปรุงระบบการทำงานภายในขององค์กร ซึ่งในกรณีของหุ้นSTARK นั้น ในอนาคตอาจมีการเสนอกฎระเบียบแนวทางแก้ไข หรือกฎหมายต่าง ๆ เพื่อป้องกันเหตุดังกล่าว  ซึ่งเป็นโจทย์ที่ทุก ๆ องค์กรที่เกี่ยวข้องในตลาดทุน ต้องออกมาช่วยกันแก้ปัญหาร่วมกันตั้งแต่ต้น เพื่อให้มีช่องโหว่งน้อยลง  

เราจะต้องมีการสังคายนาในระบบของเรา เพื่อป้องกันเรื่องพวกนี้ร่วมกัน และให้สอดคล้องให้มากขึ้นในอนาคต นายภากร กล่าว

ขณะเดียวกันส่วนกรณีที่ STARK ได้มีการแจ้งดำเนินคดีกับผู้ทุจริตที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) นั้น  นายภากร ระบุว่า ยังไม่ได้รับการติดต่อจากบริษัท แต่ทางตลาดทรัพย์ฯจะติดต่อกลับไปว่าจะสามารถช่วยเหลือในด้านไหนได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อ่านเพิ่มเติม


11 months ago / Admin

ตลท.จ่อเปิดเทรดหุ้นอีอีซีด้วยเงินดอลลาร์ ดึงเงินต่างชาติหนุนอุตสาหกรรมใหม่ คาดเริ่มเทรดได้ปีนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตลท.จ่อเปิดเทรดหุ้นอีอีซีด้วยเงินดอลลาร์ ดึงเงินต่างชาติหนุนอุตสาหกรรมใหม่ คาดเริ่มเทรดได้ปีนี้

Date Time: 8 มิ.ย. 2566 16:42 น

 

นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี เปิดเผยว่า มีความร่วมมือกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งระดมทุน EEC (EEC Fundraising Venue) เพื่อเป็นระบบนิเวศสำหรับการลงทุนใน EEC ซึ่งจะทำให้ตลาดเงินและตลาดทุนของไทยโดยรวมมีความหลากหลาย


ทั้งนี้นักลงทุนจะสามารถทำธุรกรรมทางการเงิน ระดมทุน และเข้าถึงบริการการเงินด้วยความคล่องตัว โดยมุ่งเป้าหมายไปที่กลุ่มบริษัทข้ามชาติ ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ กลุ่ม SME และกลุ่มผู้ประกอบการ Start-up ใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ ให้เข้ามาลงทุน หรือขยายการลงทุนในเขตพื้นที่ EEC

อย่างไรก็ดี รายละเอียดการเปิดให้บริการยังต้องพิจารณาถึงความต้องการของนักลงทุนและผู้ประกอบการใน EEC ก่อนเป็นหลัก เบื้องต้นคาดว่าจะสามารถให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ในสกุลเงินดอลลาร์ได้ภายในปีนี้ ส่วนในระยะถัดไปจะศึกษาความเป็นไปได้ในสกุลเงินดิจิทัล และสกุลเงินหยวน เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการผู้ลงทุนและผู้ประกอบการได้มากขึ้น


จากข้อมูลปัจจุบันพบว่ามีผู้ลงทุนต่างประเทศใน EEC จำนวนราว 2,000 ราย เป็นนักลงทุนรายใหญ่กว่า 60-70% ซึ่งหากมีความต้องการระดมทุนเพิ่มเติม ก็จะสามารถใช้ช่องทางนี้เป็นทางเลือกได้ ขณะเดียวกันพบว่ามีนักลงทุนไทยลงทุนในตลาดต่างประเทศผ่านสกุลเงินต่างๆ วงเงินกว่า 5,000 ล้านดอลลาร์ฯ โดยเชื่อว่าสามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนกลับเข้ามาในประเทศได้ รวมถึงเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติที่ต้องการลงทุนใน EEC จะเข้ามามากขึ้น จากการลดข้อจำกัดด้านความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน

นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาแหล่งระดมทุนผ่านโครงสร้างพื้นฐานร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ โดยมีแนวคิด 2 ส่วน ได้แก่ 1.บนแหล่งระดมทุนเดิม (Traditional Path - SET) พัฒนากระดานระดมทุน EEC ที่ระดมทุนด้วยเงินตราต่างประเทศเป็นหลัก โดยตลาดหลักทรัพย์จะพิจารณาแนวทางพัฒนาระบบซื้อขายและแพลตฟอร์มของตลาด และ 2.บนแหล่งระดมทุนรูปแบบใหม่ (Digital Path) ระดมทุนในรูปแบบสินทรัพย์ดิจิทัลในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลไทย (TDX)


ด้านนายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า การพัฒนาแหล่งระดมทุน EEC จะเพิ่มทางเลือกให้ผู้ระดมทุนทั้งบริษัทไทยและต่างประเทศ ที่ใช้เงินตราต่างประเทศเป็น Functional Currency ให้มีความเหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจ และเพิ่มโอกาสให้บริษัทไทยที่ไประดมทุนในต่างประเทศให้มีทางเลือกในการระดมทุนมากขึ้น

 

 

 
 
อ่านเพิ่มเติม