1 year ago / Admin

บิ๊กดาต้ามาแรง ดัน Blendata สตาร์ทอัพ Deep Tech ไทย โตก้าวกระโดด เตรียมออกบริการใหม่ ชิงกวาดลูกค้า

เบลนเดต้า (Blendata) สตาร์ทอัพด้าน Deep Tech ไทยผู้พัฒนาแพลตฟอร์มบริหารจัดการ Big Data อัจฉริยะ เผย ภาคธุรกิจให้ความสำคัญและมองการใช้ข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จของการทำธุรกิจยุคนี้ ทำให้ปีที่ผ่านมาดันยอดขายบริษัทฯ โต 50% รายได้เติบโตกว่า 80% ตั้งเป้าปีนี้ยอดขายเติบโตก้าวกระโดดจากทุกบริการรวม 50% และคาดการณ์รายได้โตกว่า 100% พร้อมเป้าหมายในการผลักดันเทคโนโลยีของไทยสู่ระดับภูมิภาค 

นายณัฐนภัส รชตะวิวรรธน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เบลนเดต้า จำกัด เปิดเผยว่า ในปี 2565 บริษัทฯ มียอดขายเติบโต 50% และรายได้เติบโตกว่า 80% และได้รับการตอบรับที่ดีมากจากลูกค้าองค์กรที่เติบโตอย่างต่อเนื่องที่จ้องการขยายลิขสิทธิ์การใช้งานแพลตฟอร์ม และการเพิ่มขึ้นของลูกค้าใหม่จากกลุ่มธุรกิจประกัน การเงิน การผลิต สุขภาพ น้ำมันและพลังงาน ค้าปลีก ตามลำดับ พร้อมด้วยพันธมิตรทางธุรกิจที่หลากหลาย Distributor Partner อย่าง Get On Technology หนึ่งในผู้จัดจำหน่ายเทคโนโลยีองค์กรชั้นนำอย่าง Dell รวมถึง Cloud Partner อย่าง AIS Cloud X 

นายณัฐนภัส ชี้ว่า การเติบโตของลูกค้าสอดคล้องกับแนวโน้มอุตสาหกรรมบิ๊กดาต้าในประเทศไทยที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากผลสำรวจของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) พบว่า อุตสาหกรรมบิ๊กดาต้าในปี 2564 มีมูลค่ารวม 1.59 หมื่นล้านบาท เติบโตขึ้น 14.25% โดยมีปัจจัยเร่ง คือ การเติบโตของ Digital การเติบโตของ Cloud การทำ Data Analytics ที่กลายเป็นมาตรฐานของธุรกิจในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะ AI ที่ต้องอาศัยข้อมูลคุณภาพดีจาก Big Data ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสและเป็นกุญแจสำคัญของธุรกิจ 

ความสำเร็จในปีที่ผ่านมา ลูกค้าตัดสินใจนำแพลตฟอร์มของเบลนเดต้าไปทดแทนแพลตฟอร์ม Big Data ที่เป็นมาตรฐานขององค์กรเดิมอย่าง Hadoop กว่าร้อยเครื่อง สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของเทคโนโลยี และความเชื่อมั่นต่อแบรนด์ นอกจากนี้ยังมีการร่วมผลิตซอฟต์แวร์ AIS B-Log เพื่อตอบโจทย์ตลาดการเก็บข้อมูลจราจร (Log) ในองค์กรในลักษณะจ่ายตามจริง (Pay-Per-Use) และความร่วมมือระหว่าง PTT Digital และ G-Able ที่นำเอาเทคโนโลยีของเบลนเดต้าเข้าไปช่วยยกระดับการใช้ข้อมูลของบริษัทในเครือปตท. แล้ว ยังตั้งเป้าที่จะหาโอกาสในการใช้ข้อมูลเพื่อค้นหาธุรกิจใหม่ๆ ร่วมกันอีกด้วย

นายณัฐนภัส กล่าวทิ้งท้ายว่า “ปี 2566 นี้ บริษัทฯ ตั้งเป้าที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่องจากพื้นฐานเดิมทั้งการมีลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ชั้นนำในไทยหลายแห่ง การให้บริการที่แข็งแกร่ง โดยมีโครงการต่อเนื่องทั้งโครงการใหม่ มีแผนที่จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ไม่ว่าจะเป็น Data Cloud SaaS แบบบริการตนเองตามปริมาณการใช้งาน และ Blendata Consult Service ให้คำปรึกษาและวางกลยุทธ์ด้าน Big Data ที่จะทำให้สามารถตอบสนองต่อ Big Data & Analytics ในองค์กรได้อย่างครบวงจร” 

 

Read more


1 year ago / Admin

ฺBEM ไตรมาสแรกกำไรพุ่ง 123% จากเปิดประเทศหนุนเศรษฐกิจฟื้นตัว

ฺBEM ไตรมาสแรกกำไรพุ่ง 123% จากเปิดประเทศหนุนเศรษฐกิจฟื้นตัว

5ชม.ที่ผ่านมา
 
 
ฺBEM ไตรมาสแรกกำไรพุ่ง 123% จากเปิดประเทศหนุนเศรษฐกิจฟื้นตัว
ฺBEM ไตรมาสแรกกำไรพุ่ง 123% จากเปิดประเทศหนุนเศรษฐกิจฟื้นตัว© สนับสนุนโดย PPTVHD36

บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM รายงานผลประกอบการไตรมาสแรกปี 2566 กำไรสุทธิ 749 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จํานวน 413 ล้านบาท หรือ 123% สาเหตุจากรายได้หลักเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการเปิดประเทศ ขณะที่ไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ยังคงมีการแพร่ระบาดของโควิด-19

รายได้จากการให้บริการ 4,099 ล้านบาท เพิมขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จํานวน 1,005 ล้านบาท หรือ 32%

BEM-ช.การช่าง ยัน ไม่ได้โกง! ปมถูก“ชูวิทย์” โจมตี

BEM แจงยิบประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ยันไม่ล็อกสเปก เผยเหตุขอเงินรัฐ 9 หมื่นล้าน

ฺBEM ไตรมาสแรกกำไรพุ่ง 123% จากเปิดประเทศหนุนเศรษฐกิจฟื้นตัว
ฺBEM ไตรมาสแรกกำไรพุ่ง 123% จากเปิดประเทศหนุนเศรษฐกิจฟื้นตัว© สนับสนุนโดย PPTVHD36

ธุรกิจทางพิเศษ

รายได้จากธุรกจิทางพิเศษ  2,276 ล้านบาท เพิมขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จำนวน 369 ล้านบาท หรือ  19% จากการเพิ่มขึ้นของปริมาณรถที่ใช้ทางด่วนในทุกสายทาง เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายลง ทําให้การดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ กลับมาเป็นปกติ

ธุรกิจระบบราง

รายได้จากธุรกจิระบบราง จํานวน 1,568 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จํานวน 577 ล้านบาท หรือ 58% โดยรายได้ค่าโดยสารโครงการสายสีน้ำเงินเพิ่มขึ้น 475 ลา้นบาท หรือ คิดเป็น102% จากปริมาณผู้โดยสารที่เติบโตอย่างต่อเนื่องจากจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย

ธุรกิจพัฒนาเชิงพาณิชย์

รายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ จำนวน 255 ลา้นบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จํานวน 59 ล้านบาทหรือ 30% ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการให้เช่าพืนที่โฆษณาและรายได้ให้เช่าฟื้นที่ค้าปลีกใน Metro Mall ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในส่วนต้นทุนของธุรกิจพัฒนาเชิงพาณิชย์ จํานวน 102 ล้านบาท เพิมขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จำนวน 24 ลา้นบาท หรือ 31% ตามการเพิ่มขึ้นของรายได้

ราคาหุ้น BEM ปิดตลาดวันนี้ (11 พ.ค.) ไม่เปลี่ยนแปลง ปิดที่ 9.05 บาท มูลค่าการซื้อขาย 1,022.64 ล้านบาท

Read more